Journal of Early Childhood Education Management (ECEM)
การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยได้กำหนดให้ศาสตร์ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย เป็นหนึ่งในสาขาอัตตลักษณ์ของการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งหลักการในการจัดการศึกษาที่สมบรูณ์และครอบคลุม คือการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติ ที่ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาความรู้ทางวิชาการในรูปแบบการค้นคว้าวิจัย และการสร้างนวัตกรรมทางองค์ความรู้ ซึ่งรูปแบบการจัดทำวารสารวิจัยสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ เป็นแหล่งสนับสนุนการพัฒนางานด้านวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยที่ดี ดังนั้นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้จัดตั้งโครงการการจัดทำวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่งานวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และสาระความรู้ทางการจัดการศึกษาปฐมวัย และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการด้านงานวิจัยสู่ระบบมาตรฐานสากล สำหรับอาจารย์ นักวิชาการทางการศึกษาปฐมวัย นักวิจัย อีกทั้งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ให้กับศาสตร์ทางการศึกษาปฐมวัยต่อไปในอนาคต
วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย (Journal of Early Childhood Education Management) เป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การส่งเสริม และการดำเนินงานทางการศึกษาปฐมวัยและทางการศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ
Current Issue
Journal of Early Childhood Education Management (ECEM)
Volume: 3, Issue: 2 (July - December 2021)
|
ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา |
|
สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, นิฤมล สุวรรณศรี , ทิพย์ ขำอยู่, จิราพร รอดพ่วง, นงเยาว์ นุชนารถ |
|
Page: 1 - 10 |
|
[Abstract] [PDF]
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะและคุณลักษณะของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรจากหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานการจัดการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการจัดการศึกษากรมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่รับผิดชอบคุณภาพการจัดการศึกษา จำนวน 360 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ การศึกษาปฐมวัยและการประถมศึกษา หรือผู้มีประสบการณ์ทางการบริหารจัดการการศึกษาในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสำรวจความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และแบบสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคาดหวังต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ การเป็นผู้บริหารที่นำสถานศึกษาให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ รองลงมา คือ การเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำและสามารถชี้นำสังคม และการเป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐานงานวิจัยและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารทรัพยากร และ 2) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะที่จำเป็นของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ สมรรถนะด้านความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมา คือ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง ส่วนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อคุณลักษณะของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา อันดับแรก คือ มีคุณธรรม และจริยธรรม รองลงมา คือ ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการการศึกษา และมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ
|
|
|
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา |
|
กัญญาณัฐ คงสา , ขวัญใจ จริยาทัศน์กร |
|
Page: 11 - 22 |
|
[Abstract] [PDF]
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียน
ชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลชั้น 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ)
ก่อนและหลังใช้กิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ชุด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์-สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรมเกมการศึกษา มีคะแนนสูงขึ้น
2. การเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) มีคะแนนพัฒนาการ 91.25 % อยู่ในระดับสูง
|
|
|
การพัฒนาความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้บัตรภาพ AR |
|
เฟื่องฟ้า พันธุราษฎร์ |
|
Page: 23 - 30 |
|
[Abstract] [PDF]
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้บัตรภาพ AR กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 1 ห้อง La or plus K.1/2 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR และแบบประเมินความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านบัตรภาพ AR ก่อนจัดกิจกรรม มีผลรวมเท่ากับ 67 คะแนน มีค่าเฉลี่ย = 3.94 แต่หลังจากจัดกิจกรรมแล้วความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย มีผลรวมเท่ากับ 216 คะแนนเฉลี่ย = 12.7 จะเห็นได้ว่า ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบัตรภาพ AR
|
|
|
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อม สำหรับสถานศึกษาปฐมวัย |
|
สุภาพร มูฮำหมัด , นิศารัตน์ อิสระมโนรส |
|
Page: 31 - 42 |
|
[Abstract] [PDF]
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาย-หญิง ระดับชั้นปีที่ 3 ที่ศึกษาอยู่ในรายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัยตามรูปแบบ MACRO model จำนวน 8 สัปดาห์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย แบบสังเกตพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย และแบบสังเกตผลการปฏิบัติงานการสร้างโมเดลการออกแบบการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษาปฐมวัยของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 12.76 หลังเรียนเท่ากับ 14.95 พบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบมีค่าเท่ากับ 2.19 และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ของผู้เรียนมีค่าร้อยละ 21.49 ส่วนคะแนนพฤติกรรมการตั้งใจเรียน นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และคะแนนผลการปฏิบัติงานการสร้างโมเดล นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 1.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เท่ากับ 2.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40
|
|
|
S-IPADS Plus : นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวบูรณาการสำหรับ เด็กปฐมวัยแนวใหม่ |
|
จุฬินฑิพา นพคุณ, อรวรรณ ชนะพลไกร |
|
Page: 43 - 54 |
|
[Abstract] [PDF]
S-IPADS Plus เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัยแนวใหม่ ที่โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมด้วยเสียงเพลง นิทาน หรือเรื่องเล่า (S - Song หรือ Story) ขั้นที่ 2 สร้างแรงจูงใจ (I ? Inspiration) ขั้นที่ 3 แผนการทดลองตามขั้นตอน (P ? Plan) ขั้นที่ 4 กิจกรรมการทดลองปฏิบัติการและการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ (A ? Activity) ขั้นที่ 5 การบันทึกสิ่งที่สังเกต (D ? Document) ขั้นที่ 6 ทบทวน ทำซ้ำ สังเกตมีเพลงประกอบ (S ? Song Discovering Song) และได้นำเอาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ P.O.E
ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยมาผสมผสาน จึงทำให้เกิดคำว่า Plus จากการสังเกตพฤติกรรม และการเผยแพร่รูปแบบดังกล่าวสู่ครูจากทั่วประเทศที่สมัครเข้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา พบว่า 1) เด็กมีความสนุกสนานจากนิทานและเรื่องเล่า ได้ทดลองปฏิบัติจริง มีการบันทึกผล ได้ทำซ้ำ ได้ฝึกสังเกต พร้อมฟังเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่เห็น ได้ฝึกฝนการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขณะปฏิบัติการทดลอง เน้นทักษะ P.O.E 2) ครูมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ครูได้พัฒนาการสอนภาษาควบคู่กับการสอนวิทยาศาสตร์ 4) ครูได้นำรูปแบบ S ? IPADS Plus ไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 และกรอบสาระการเรียนรู้และกิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 5) ครูได้ตระหนักในการใช้กิจกรรมการปฏิบัติการทดลองเพื่อสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
|
|
|
ลูสพาร์ทส์เพลย์กับการศึกษาปฐมวัย: จากยุค 1970 สู่ความนิยมในศตวรรษที่ 21 |
|
กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ |
|
Page: 55 - 64 |
|
[Abstract] [PDF]
การเล่นแบบลูสพาร์ทส์ถูกเสนอขึ้นโดยสถาปนิกนาม Simon Nicholson ในช่วงยุค 1970s ซึ่งประกอบด้วยข้อเสนออันเป็นอุดมคติ 4 ประการ คือ 1) ให้ความสำคัญสูงสุดในที่ซึ่งมีเด็ก 2)เปิดให้เด็กเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ 3) ใช้แนวทางข้ามศาสตร์ และ 4) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นนั้นสามารถเป็นวัสดุแบบใดก็ได้ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ก่อนหน้านี้การเล่นประเภทนี้ยังไม่ได้รับความสนใจจากแวดวงการศึกษาปฐมวัยนัก กระทั่งเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
|
|
|
การพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษเบื้องต้นสู่ความสำเร็จในการสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ TOEIC ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา |
|
สิรธัมม์ อุดมธรรมานุภาพ |
|
Page: 65 - 78 |
|
[Abstract] [PDF]
การทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ (TOEIC) เป็นการทดสอบการฟังและการอ่านใช้เพื่อประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาในหลายประเทศเพื่อวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษมาตรฐาน ซึ่งมีความแตกต่างจากการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสนทนา
แบบทั่วไป การเขียน หรือหลักสูตรธุรกิจ ในบทความนี้จะเน้นการกล่าวถึงการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมพร้อมกับการประกอบวิชาชีพครูสำหรับการศึกษาระดับระดับสูง (Higher Education) เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษมีความสำคัญในด้านการศึกษาตลอดมา ทั้งการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารทางภาษาทั้งสี่ประการ ได้แก่ การฟังการพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดทักษะทางภาษาตามมาตรฐานการพัฒนาภาษาอังกฤษตามกรอบทฤษฎี Common European Framework of Reference for Languages ??(CEFR) เพื่อเป็นแบบทดสอบมาตรฐานเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในทุกระดับ โดยผู้เรียนปริญญาตรีถูกกำหนดให้มีความสามารถภาษาอังกฤษในระดับ B1 Intermediate หรือเทียบเท่า TOEIC 500 คะแนน ด้วยการยกระดับมาตรฐานทางด้านภาษาสำหรับการศึกษาระดับระดับสูง (Higher Education) บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่ออภิปรายเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษเบื้องต้นสู่ความสำเร็จในการสอบ TOEIC สำหรับประกอบวิชาชีพครูทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ โดยเริ่มจากศึกษาความสำคัญสภาพปัจจุบันและแนวทางในการพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษเบื้องต้นของนักเรียนไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบวิชาชีพ เนื้อหาของแบบทดสอบ TOEIC และผลของใช้แบบทดสอบ TOEICในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาทักษะการฟังและการอ่านเพื่อการสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ TOEIC ซึ่งจะเป็นการศึกษาแหล่งข้อมูลของแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเตรียมบทเรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมผู้เรียนภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานให้พร้อมสู่ความสำเร็จในการสอบ TOEIC เพื่อประกอบวิชาชีพในอนาคต
|
|
|
Creative Play the Steiner Waldorf way |
|
บุษบง ตันติวงศ์ |
|
Page: 79 - 81 |
|
[Abstract] [PDF]
หนังสือ เรื่อง ?การเล่นสร้างสรรค์ตามแนวทางสไตเนอร์วอลดอร์ฟ สำหรับเด็กวัยเตาะแตะ? ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2014 หลังจากการตีพิมพ์หนังสือ ?การเล่นสร้างสรรค์ ตามแนวทางสไตเนอร์วอลดอร์ฟสำหรับเด็กทารก? ใน ค.ศ. 2007 ด้วยผลงานเล่มแรกจึงอนุมานว่าหนังสือเล่มนี้เป็นที่ต้องการของผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกที่บ้านและผู้จัดเพลย์กรุป (playgroup) เพื่อเตรียมเด็กวัยเตาะแตะเข้าสู่ เนิร์ซเซอรี่หรืออนุบาลตามแนววอลดอร์ฟ ซึ่งมีอยู่เกือบสองพันแห่งทั่วโลก หากพิจารณาภูมิหลังและผลงานตีพิมพ์จำนวนมากของผู้เขียน เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าผู้อ่านส่วนหนึ่งติดตามหนังสือของเขามาก่อนแล้ว
|
|